The key to success is the art of collaboration

โครงสร้าง NQI

CONSORTIUM

องค์ประกอบของ
โครงสร้าง NQI

การดำเนินงานภายใต้ระบบ NQI ประกอบไปด้วย กลุ่มองค์กรระดับชาติ 3 กลุ่ม ได้แก่ มาตรวิทยา (metrology)  การกำหนดมาตรฐาน (standardisation) และการรับรองระบบงาน (accreditation) ที่มีการเชื่อมโยงการทำงานในระดับนานาชาติ  และกลุ่มบริการและกำกับดูแล ได้แก่ การตรวจสอบและรับรอง (conformity assessment) และการกำกับดูแลตลาด (market surveillance) เพื่อให้ผลการดำเนินการของระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพ มีประสิทธิภาพ สามารถลด หรือขจัดกำแพงการค้าทางเทคนิคได้จริง
การจัดตั้งโครงสร้างระหว่างประเทศของโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพ เพื่อประสานความร่วมมือและบริหารจัดการข้อตกลงยอมรับร่วม ซึ่งข้อตกลงนี้กำหนดเกณฑ์การยอมรับร่วมไว้ด้วย   ประเทศสมาชิกมีหน้าที่ในการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อให้ในท้ายที่สุดผลการตรวจสอบและรับรองจะได้รับการยอมรับโดยทุกภาคส่วนในทุกประเทศ  ดังนั้นในประเทศต่าง ๆ จึงมีการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ หรือ NQI เช่นกัน ซึ่งประกอบไปด้วยองค์กรระดับชาติที่รับผิดชอบดำเนินการใน 3 องค์ประกอบแรก คือ มาตรวิทยา การกำหนดมาตรฐาน และการรับรองระบบงาน  ส่วนการตรวจสอบและรับรอง ดำเนินการโดยหน่วยงานที่มีความสามารถเฉพาะทางในสาขาต่าง ๆ  ในส่วนของการกำกับดูแลตลาด ดำเนินการโดยผู้ได้รับมอบอำนาจตามกฎหมาย
ในส่วนของประเทศไทย มีองค์กร หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในแต่ละองค์ประกอบของ  NQI  ดังต่อไปนี้

Metrology

มาตรวิทยา

มาตรวิทยา (metrology) หมายถึง วิทยาศาสตร์ของการวัด (science of measurement) จึงมีวัตถุประสงค์ในการทำ ให้การวัด (measurement) มีความแม่นยำ และเที่ยงตรง และผลการวัด (measurement result) ไม่ว่าจะกระทำที่ใด เมื่อใด หรือโดยผู้ใดสามารถเปรียบเทียบกันได้ และผลการวัดสามารถนำไปใช้งานได้ตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้
ทั้งนี้ มาตรวิทยา มีการดำเนินงานใน 2 รูปแบบ คือ มาตรวิทยาเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Metrology) และมาตรวิทยาเชิงกฎหมาย (Legal Metrology) โดยมีองค์กรที่รับผิดชอบการดำเนินงานในแต่ละด้าน ดังนี้

Scientific Metrology

มาตรวิทยาเชิงวิทยาศาสตร์

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.)

National Institute of Metrology (Thailand); NIMT

มว.  เป็นองค์การมหาชนภายใต้พระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พ.ศ. 2540 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559  เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ทำการวัดในสาขา Acoustics, Ultrasound and Vibration (AUV)  |  Electricity and Magnetism (EM) |  Length (L)  |  Mass and Related Quantities (M)  |  Photometry and Radiometry (PR)  |  Chemistry and Biology (QM) |  Thermometry (T)  |  Time and Frequency (TF)

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

Thailand Institute of Scientific and Technological Research (TISTR)

วว. เป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐ ปัจจุบันสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย วว. มีศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) ทำหน้าที่ให้บริการงานด้านวิเคราะห์/ทดสอบผลิตภัณฑ์ และสอบเทียบเครื่องมือวัดต่างๆ
นอกจากนั้น ยังทำหน้าที่ Designated Institute แทนสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ในสาขา Chemistry: preservative agents in food and beverage อีกด้วย

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.)

Office of Atom of Peace (OAP)

ปส. เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์ รวมทั้งการบริหารจัดการด้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์ตามมาตรฐานสากลเพื่อการพัฒนาประเทศ
นอกจากนั้น ยังทำหน้าที่ Designated Institute แทนสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ในสาขา Ionizing Radiation: all radio activity and neutron measurements; dosimetry measurements (สาขารังสีก่อไอออน) อีกด้วย

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.)

Department of Medical Sciences (DMSC)

วพ. เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่ศึกษา วิจัย และพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาด้านการสาธารณสุขและเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งตรวจวิเคราะห์เพื่อประเมินความเสี่ยงและเตือนภัยทางสุขภาพ เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังทำหน้าที่ Designated Institute แทนสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ในสาขา DNA quantification in food;
chemistry: pesticide residues in food
อีกด้วย

Legal Metrology

มาตรวิทยาเชิงกฎหมาย

สำนักงานกลางชั่งตวงวัด กรมการค้าภายใน

Central Bureau of Weights and Measures, Department of Internal Trade (CBWM)

สำนักงานกลางชั่งตวงวัด เป็นส่วนราชการ ในสังกัดกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ทำหน้าที่กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจในการผลิต นำเข้า ขาย ซ่อมเครื่องชั่ง ตวง วัด  และให้บริการชั่ง ตวง หรือวัด

go to top

METROLOGY

Standardisation

การกำหนดมาตรฐาน

การกำหนดมาตรฐาน (standardisation) หมายถึง การจัดทำเอกสารข้อกำหนด หลักเกณฑ์ หรือแนวทางต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นกรอบ หรือแนวปฏิบัติในการดำเนินงานให้เป็นอย่างเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในการผลิตสินค้าของโรงงานผู้ผลิต หรือการนำไปใช้อ้างอิงเพื่อการจัดซื้อของผู้ซื้อ โดยข้อกำหนด หลักเกณฑ์ หรือแนวทางข้างต้นอาจจะเป็นคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ หรือรายละเอียดกระบวนการก็ได้ เพื่อให้มาตรฐานของประเทศใดประเทศหนึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นเกณฑ์ที่เหมาะสมและไม่เป็นอุปสรรคทางการค้า
ซึ่งองค์กรด้านการกำหนดมาตรฐานของประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรระหว่างประเทศในหลายองค์กร เช่น International Organization for Standardization (ISO), International Electrotechnical Commission (IEC) และ International Telecommunication Union (ITU) เป็นต้น  ทั้งนี้ การกำหนดมาตรฐานในประเทศไทย มีองค์กรที่รับผิดชอบการดำเนินงานในแต่ละสาขา ดังนี้

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

Thai Industrial Standards Institute (TISI)

สมอ. เป็นหน่วยงานของรัฐในสังกัดของกระทรวงอุตสาหกรรม จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐานของประเทศให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล  กำหนดมาตรฐานที่ตรงความต้องการและสอดคล้องกับแนวทางสากล และสร้างความเชื่อมั่นในการตรวจสอบรับรอง และกำกับดูแลผลิตภัณฑ์และบริการ

มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)

National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards (ACFS)

มกอช. เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มกอช. ทำหน้าที่พัฒนาสินค้าเกษตรและอาหารของไทยอย่างครบวงจร ซึ่งรวมถึงระบบการจัดการคุณภาพการผลิตให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

go to top

STANDARDISATION

Accreditation

การรับรองระบบงาน

การรับรองระบบงาน (accreditation) หมายถึง กระบวนการประเมินหน่วยตรวจสอบและรับรอง (Conformity Assessment Body: CAB) ตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับอย่างอิสระ เพื่อให้มั่นใจในความเป็นกลางและความสามารถของหน่วยดังกล่าว เพื่อให้รัฐบาล ผู้ซื้อและผู้บริโภคสามารถเชื่อมั่นในผลการสอบเทียบและทดสอบ (calibration and test result) รายงานการตรวจ (inspection report) และใบรับรอง (certification) ที่ออกโดยหน่วยตรวจสอบและรับรอง
ปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้การรับรองระบบงาน ดังนี้

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

Thai Industrial Standards Institute (TISI)

สมอ. เป็นหน่วยงานของรัฐในสังกัดของกระทรวงอุตสาหกรรม จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
ทั้งนี้ นอกจาก สมอ. จะมีพันธกิจด้านการกำหนดมาตรฐานแล้ว ยังมีได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ การกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและรับรอง การตรวจสอบและรับรองผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรองด้านการมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยการมาตรฐานแห่งชาติและเป็นศูนย์กลางในการติดต่อประสานงานและปฏิบัติงานด้านการมาตรฐานของประเทศเพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ ตาม พระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ.2551 อีกด้วย
โดยทำหน้าที่ให้การรับรองระบบงาน ดังนี้
(1) การรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการทดสอบ และห้องปฏิบัติการสอบเทียบ  (2) การรับรองระบบงานหน่วยรับรอง และ (3) การรับรองระบบงานหน่วยตรวจ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.)

Department of Medical Sciences (DMSC)

วพ. เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่ศึกษา วิจัย และพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาด้านการสาธารณสุขและเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งตรวจวิเคราะห์เพื่อประเมินความเสี่ยงและเตือนภัยทางสุขภาพ เป็นต้น
นอกจากนั้น วพ. ยังได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ (กมช.) ให้ดำเนินการ (1) การรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบสาธารณสุขและการแพทย์, (2) การรับรองผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง (Reference Material Producer) และ (3) เป็นหน่วยตรวจสอบขึ้นทะเบียนแห่งชาติ ในการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการตามหลักปฏิบัติที่ดีของห้องปฏิบัติการ (Good Laboratory Practice, GLP) ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 อีกด้วย

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)

National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards (ACFS)

มกอช. เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ทั้งนี้ มกอช. นอกจากจะมีพันธกิจด้านการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของไทยแล้ว ยังมีได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ (กมช.) ให้ดำเนินการ (1) การรับรองระบบงานหน่วยรับรองระบบความปลอดภัยของอาหาร และ (2) การรับรองหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ และการปฏิบัติการทางการเกษตรที่ดี ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 อีกด้วย

กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)

The Department of Science Service (DSS)

วศ. เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีพันธกิจเกี่ยวกับการให้บริการทางวิทยาศาสตร์ กำกับดูแล ส่งเสริม วิจัยพัฒนา ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
นอกจากนั้น วศ. ยังได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ (กมช.) ให้ดำเนินการ (1) การรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบ, (2) การรับรองผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชํานาญ (Proficiency Testing Provider) และ (3) การรับรองผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง (Reference Material Producer)  ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 อีกด้วย

go to top

ACCREDITATION

Conformity Assessment

การตรวจสอบและรับรอง

การตรวจสอบและรับรอง (conformity assessment) หมายถึง การดำเนินการอย่างเป็นกระบวนการเพื่อแสดงว่าผลิตภัณฑ์ บริการ หรือระบบมีสมบัติตามที่มาตรฐานระบุหรือไม่ รูปแบบหลักของการตรวจสอบและรับรองคือ การทดสอบ (testing) การรับรอง (certification) และการตรวจ (inspection)
การผ่านกระบวนการตรวจสอบและรับรองมีประโยชน์หลายด้าน เช่น สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้บริโภคและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการ และช่วยผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการตัดสินว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการ มีสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขด้านความปลอดภัย สุขอนามัยและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป้าหมายสำคัญอันหนึ่งของการตรวจสอบและรับรอง คือ ผลการตรวจสอบและรับรองเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนในทุกประเทศ
ทั้งนี้ ในประเทศไทยมีองค์กรที่รับผิดชอบการดำเนินงานตรวจสอบและรับรองในแต่ละสาขา ดังนี้

Calibration Laboratory

ห้องปฏิบัติการสอบเทียบ

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

Thai Industrial Standards Institute (TISI)

สมอ. เป็นหน่วยงานของรัฐในสังกัดของกระทรวงอุตสาหกรรม จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐานของประเทศให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล  กำหนดมาตรฐานที่ตรงความต้องการและสอดคล้องกับแนวทางสากล และสร้างความเชื่อมั่นในการตรวจสอบรับรอง และกำกับดูแลผลิตภัณฑ์และบริการ

Testing Laboratory

ห้องปฏิบัติการทดสอบ

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

Thai Industrial Standards Institute (TISI)

สมอ. เป็นหน่วยงานของรัฐในสังกัดของกระทรวงอุตสาหกรรม จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐานของประเทศให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล  กำหนดมาตรฐานที่ตรงความต้องการและสอดคล้องกับแนวทางสากล และสร้างความเชื่อมั่นในการตรวจสอบรับรอง และกำกับดูแลผลิตภัณฑ์และบริการ

Certification Body; CB

หน่วยรับรอง

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

Thai Industrial Standards Institute (TISI)

สมอ. เป็นหน่วยงานของรัฐในสังกัดของกระทรวงอุตสาหกรรม จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐานของประเทศให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล  กำหนดมาตรฐานที่ตรงความต้องการและสอดคล้องกับแนวทางสากล และสร้างความเชื่อมั่นในการตรวจสอบรับรอง และกำกับดูแลผลิตภัณฑ์และบริการ

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)

National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards (ACFS)

มกอช. เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ทั้งนี้ มกอช. นอกจากจะมีพันธกิจด้านการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของไทยแล้ว ยังมีได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ (กมช.) ให้ดำเนินการ (1) การรับรองระบบงานหน่วยรับรองระบบความปลอดภัยของอาหาร และ (2) การรับรองหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ และการปฏิบัติการทางการเกษตรที่ดี ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 อีกด้วย

Inspection Body; IB

หน่วยตรวจ

รายชื่อหน่วยตรวจที่ได้รับการรับรองระบบงาน

1. สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ (ฝ่ายการมาตรฐานและคุณภาพ)
2. บริษัท อินเตอร์เทค เทสติ้ง เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด สายธุรกิจ – ซอฟต์ไลน์ ฮาร์ดไลน์ แผนกบริการการตรวจ
3. บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด
4. กรมประมง กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง
5. บริษัท รับตรวจสินค้าโพ้นทะเล จำกัด
6. บริษัท อินเตอร์เทค เทสติ้ง เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด สายธุรกิจ – ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และเครือข่าย/ เทคโนโลยีการขนส่งฝ่ายปฏิบัติการ
7. สถาบันยานยนต์ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ
8. บริษัท ทูฟ ซูด (ประเทศไทย) จำกัด ฝ่ายบริการด้านผลิตภัณฑ์ แผนกบริการผลิตภัณฑ์สำหรับอุปโภคบริโภค ส่วนงานหน่วยตรวจและบริการยื่นขอการรับรองผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ
9. สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง กลุ่มงานตรวจลายนิ้วมือแฝง
10. กรมการค้าภายใน กองชั่งตวงวัด ส่วนสินค้าหีบห่อ
11. บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด
12. บริษัท ทูฟ นอร์ด (ประเทศไทย) จำกัด
13. บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
14. บริษัท เอสจีที เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด
15. บริษัท ไทย เอ็น ดี ที จำกัด (มหาชน)
16. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กองตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
17. บริษัท โกลบอล เซอร์ติฟิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด
18. บริษัท บูโร เวอริทัส (ประเทศไทย) จำกัด (แผนกอุตสาหกรรม)
19. บริษัท ฟินิกซ์ คิวซี จำกัด
20. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ
21. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา
22. สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ ฝ่ายหน่วยตรวจ
23. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ ห้องปฏิบัติการตรวจสอบสมรรถนะและความปลอดภัย
24. บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์เวลแลนซ์ แอนด์ คอนซัลแตนซี จำกัด
25. บริษัท แบงค็อก เซอร์ติฟิเคชัน จำกัด
26. บริษัท อันเดอร์ไรเตอร์ แลบอราทอรี่ส์ (ไทยแลนด์) จำกัด (ฝ่ายหน่วยตรวจ)
27. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ฝ่ายรับรองผลิตภัณฑ์ กลุ่มหน่วยตรวจ
28. บริษัท ซิสทรอนิกส์ จำกัด (หน่วยตรวจ)
29. บริษัท ศิวะเทสติ้ง อินสเพ็คชั่น แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด แผนกตรวจรับรองอุปกรณ์อุตสาหกรรม
30. บริษัท ไอเอสโอซิสเตม เทรนนิ่งแอนด์คอนซัลแทนท์ จำกัด
31. บริษัท ทีไอเอสอินสเปคชั่น จำกัด
32. บริษัท ควอลลีเทค จำกัด (มหาชน)
33. บริษัท วิจัยและพัฒนา อุตสาหกรรม จำกัด
34. บริษัท ราชพฤกษ์วิศวกรรม จำกัด
35. บริษัท อินเตอร์เทค อินดัสทรี แอนด์ เซอร์ทิฟิเคชั่น เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด
36. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง กลุ่มตรวจอาวุธปืนและเครื่องกระสุน
37. บริษัท ทีซีไอเอส อินสเปคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
38. สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ศูนย์บริการเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ฝ่ายตรวจวัดและประเมินปริมาณรังสี
39. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ กองพิสูจน์หลักฐานกลางกลุ่มงานตรวจเอกสาร
40. สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ฝ่ายมาตรฐานและความปลอดภัย ส่วนควบคุมคุณภาพและการมาตรฐาน
41. บริษัท แอท ออล เซอร์วิส จํากัด
42. บริษัท แอมสเปค (ประเทศไทย) จำกัด

Validation & Verification Body

หน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบ

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

Thai Industrial Standards Institute (TISI)

สมอ. เป็นหน่วยงานของรัฐในสังกัดของกระทรวงอุตสาหกรรม จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐานของประเทศให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล  กำหนดมาตรฐานที่ตรงความต้องการและสอดคล้องกับแนวทางสากล และสร้างความเชื่อมั่นในการตรวจสอบรับรอง และกำกับดูแลผลิตภัณฑ์และบริการ

Reference Material Producer

หน่วยผลิตวัสดุอ้างอิง

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.)

Department of Medical Sciences (DMSC)

วพ. เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่ศึกษา วิจัย และพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาด้านการสาธารณสุขและเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งตรวจวิเคราะห์เพื่อประเมินความเสี่ยงและเตือนภัยทางสุขภาพ เป็นต้น
นอกจากนั้น วพ. ยังได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ (กมช.) ให้ดำเนินการ (1) การรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบสาธารณสุขและการแพทย์, (2) การรับรองผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง (Reference Material Producer) และ (3) เป็นหน่วยตรวจสอบขึ้นทะเบียนแห่งชาติ ในการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการตามหลักปฏิบัติที่ดีของห้องปฏิบัติการ (Good Laboratory Practice, GLP) ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 อีกด้วย

กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)

The Department of Science Service (DSS)

วศ. เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีพันธกิจเกี่ยวกับการให้บริการทางวิทยาศาสตร์ กำกับดูแล ส่งเสริม วิจัยพัฒนา ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
นอกจากนั้น วศ. ยังได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ (กมช.) ให้ดำเนินการ (1) การรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบ, (2) การรับรองผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชํานาญ (Proficiency Testing Provider) และ (3) การรับรองผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง (Reference Material Producer)  ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 อีกด้วย

Proficiency Testing Provider

หน่วยจัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญ

กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)

The Department of Science Service (DSS)

วศ. เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีพันธกิจเกี่ยวกับการให้บริการทางวิทยาศาสตร์ กำกับดูแล ส่งเสริม วิจัยพัฒนา ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
นอกจากนั้น วศ. ยังได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ (กมช.) ให้ดำเนินการ (1) การรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบ, (2) การรับรองผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชํานาญ (Proficiency Testing Provider) และ (3) การรับรองผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง (Reference Material Producer)  ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 อีกด้วย

go to top

CONFORMITY ASSESSMENT

Market Surveillance

การกำกับดูแลตลาด

การกำกับดูแลตลาด (market surveillance) คือกระบวนการที่ทำให้มั่นใจว่าสินค้าและบริการที่เข้าสู่ตลาดนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ความเป็นธรรมทางการค้า การแข่งขันที่เป็นธรรมและประโยชน์สาธารณะอื่น ๆ
การกำกับดูแลตลาด → ใช้เครื่องมือและกลไกตามกฎหมาย เช่น การสั่งให้ถอนผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดออกจากตลาด การเรียกคืนผลิตภัณฑ์ การปรับ การห้ามไม่ให้เข้าสู่ตลาด และวิธีการอื่น ๆ ที่จะหยุดการหมุนเวียนของผลิตภัณฑ์นั้นในตลาด รวมถึงการให้ผู้ผลิตแก้ไขจนผลิตภัณฑ์นั้นเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
การกำกับดูแลตลาด → ช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคในการซื้อสินค้า และช่วยให้ผู้ประกอบการที่ผลิตและขายสินค้าที่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้และไม่ต้องเสียส่วนแบ่งตลาดให้แก่พ่อค้าที่ทุจริต ความอ่อนแอหรือความไม่มีประสิทธิภาพของการกำกับดูแลตลาดจะทำให้เกิดภาวะตลาดล้มเหลว (market failure) นั่นคือ ผู้ประกอบการที่ผลิตและขายสินค้าที่ดีไม่สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการที่ทุจริตได้ ต้องเลิกกิจการในที่สุด และท้ายที่สุด ผู้บริโภคจะไม่มีความมั่นใจในการซื้อสินค้าในตลาดนั้น ทำให้ตลาดหดตัวและปิดตัวลงในที่สุด
การกำกับดูแลตลาด → ต้องทำงานร่วมกับศุลกากรอย่างใกล้ชิด เพื่อตรวจสอบสินค้านำเข้าที่กำลังจะเข้าสู่ตลาด ความท้าทายในการกำกับดูแลตลาดในปัจจุบันคือ จำนวนสินค้าที่เข้าสู่ตลาดในแต่ละวันนั้นมากมายและเพิ่มขึ้นตลอดเวลา รวมทั้งสินค้าที่มีเทคโนโลยีซับซ้อน ก็เพิ่มจำนวนและความหลากหลายขึ้นอย่างรวดเร็ว

มาตรฐานอาหารและยา

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

Food and drug administration (FDA)

อย. เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข
อย. มีภารกิจเกี่ยวกับการปกป้องและคุ้มครองสุขภาพของประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ ซึ่งล้วนถือเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลทางวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและสมประโยชน์ 

มาตรฐานด้านโทรคมนาคม

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

National Broadcasting and Telecommunications Commission (NBTC)

กสทช.  เป็น องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
ทำหน้าที่สนับสนุน กสทช. ในการบริหารคลื่นความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม และการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์กิจการโทรคมนาคม กิจการดาวเทียม กิจการวิทยุคมนาคม อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศและประชาชน

มาตรฐานด้านการบิน

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

Civil Aviation Authority of Thailand (CAAT)

CAAT เป็นหน่วยงานของรัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  จัดตั้งขึ้นตามพระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558
มีหน้าที่กำกับ ดูแล ควบคุมหน่วยงานด้านการบิน ทั้งในด้านนิรภัย การรักษาสิ่งแวดล้อม การรักษาความปลอดภัย ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรฐานสากล

มาตรฐานด้านการท่องเที่ยว

กรมการท่องเที่ยว (กทท.)

Department of Tourism (DOT)

กทท. เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กทท.  มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวในด้านบริการ ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว ธุรกิจนําเที่ยว มัคคุเทศก์ และผู้นําเที่ยว มาตรฐานอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการรักษาความปลอดภัยทางการท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร ให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ กฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศ ในราชอาณาจักร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

มาตรฐานด้านแรงงานไทย

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

Department of Labour Protection and Welfare

เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงแรงงาน  มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์ และความปลอดภัยแรงงาน เพื่อคุ้มครองสิทธิลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด

go to top

MARKET
SURVEILLANCE