NQI
PILOT PROJECTS

โครงการต้นแบบการนำ NQI
ไปใช้ประโยชน์ในระดับชุมชน: สมุนไพร (ฟ้าทะลายโจร)

ความเป็นมา

สมุนไพรไทย… มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนานควบคู่สังคมไทย ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร ยารักษาโรค ดูแลสุขภาพ ยาอายุวัฒนะ และเสริมความงาม ภูมิปัญญาเหล่านี้ได้รับการสั่งสมสืบทอดและพัฒนาต่อเนื่อง สร้างคุณค่า และมูลค่าให้แก่สมุนไพรไทยจนถึงปัจจุบัน อีกทั้ง ประเทศไทยนั้น มีความหลากหลายของพันธุ์พืชสมุนไพร เนื่องจากภูมิประเทศและภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของพืชสมุนไพร จึงทำให้ประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุด 8 อันดับแรกของโลก

ด้วยเหตุผลดังกล่าว รัฐบาลไทยจึงได้กำหนดแผนแม่บทแห่งชาติ ด้านการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564  วิสัยทัศน์ที่ว่าด้วยความมั่นคงทางสุขภาพ และความยั่งยืนของเศรษฐกิจไทย (Thai Herbs for Health and Sustainable Economy) เพื่อให้ประเทศไทย เป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบสมุนไพรคุณภาพ และผลิตภัณฑ์สมุนไพรชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน อันจะส่งผลให้มูลค่าของวัตถุดิบสมุนไพร และผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศ เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 เท่าตัว

โดยส่วนราชการ และองค์กรเอกชน จะมีบทบาทอย่างสูง ในการสนับสนุนให้เกิดการผลิตสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน  มีคุณภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้สมุนไพร รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสมุนไพรไทย ทั้งในระดับตลาดในประเทศ และต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ซึ่งภายในแผนแม่บทดังกล่าวประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ และแผนงานต่าง ๆ ที่ครอบคลุมการพัฒนาสมุนไพรไทยตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

ถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความต้องการบริโภคสมุนไพรที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดของคนรุ่นใหม่ แต่สถานการณ์ปัจจุบันพบว่า ธุรกิจสมุนไพรไทย ยังมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำ เนื่องจากยังขาดกลไกในการเชื่อมโยงระบบการผลิต ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบสมุนไพร จนถึงการแปรรูปไปเป็นสารสกัด และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ยังขาดการพิสูจน์ด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ด้วยวิธีที่เป็นมาตรฐาน ปัญหาการจดทะเบียนสิทธิบัตรและการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการส่งเสริมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และปัญหาการพัฒนาตลาดและผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพร ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการได้

ดังนั้น โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพทางด้านสมุนไพรจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะช่วยทำให้แผนแม่บทแห่งชาติฯ บรรลุเป้าประสงค์แล้ว ยังช่วยสร้างจุดแข็งในเรื่องของการมีมาตรฐาน โดยโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการพัฒนาสินค้าและบริการสู่การมีคุณภาพ มีมาตรฐาน และมีความปลอดภัย สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนอย่างเป็นระบบและโปร่งใส ได้รับการรับรองในระดับสากล เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์ สร้างความเชื่อมั่นในการผลิต แปรรูป จนกระทั่งการนำผลิตภัณฑ์ไปใช้ และเพื่อให้เกิดการยอมรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยทั้งในประเทศและนานาชาติ โดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติจะพัฒนามาตรฐานวิธีการวัดที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร ผลิตวัสดุอ้างอิงรับรองด้านการทดสอบสมุนไพร ผลิตนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดให้กับผู้ประกอบการ เกษตรกร อีกทั้งจัดโปรมแกรมการเปรียบเทียบผลการวัดหรือทดสอบความชำนาญในประเทศ เพื่อพัฒนาและทดสอบความสามารถด้านการวัดของบุคลากรในห้องปฏิบัติการทดสอบสมุนไพร ด้วยการบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินการแผนงานได้อย่างสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

เลื่อนลงด้านล่าง  ↓

go to top

วัตถุประสงค์โครงการ

สนับสนุนด้าน NQI

สนับสนุนด้าน NQI แก่โรงพยาบาลหนองเสือ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยใช้ฟ้าทะลายโจรเป็นผลิตภัณฑ์นำร่อง ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์ตัวอย่างที่จำเป็นตามข้อกำหนดทางคุณภาพ เพื่อให้เกิดระบบโครงสร้างพื้นฐาน ครอบคลุมสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจระบบคุณภาพ และโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพที่เหมาะสมกับการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร

ผลิตวัสดุอ้างอิงสมุนไพร

ผลิตวัสดุอ้างอิงสมุนไพร เพื่อสนับสนุนการตรวจวัดวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพร

กิจกรรมภายใต้โครงการฯ

ระดับชุมชน

  • สร้างการรับรู้ถึงความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพ สำหรับการวิเคราะห์สมุนไพรไทย (ผ่านกิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร)
  • ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรในการวิเคราะห์คุณภาพ น้ำ ดิน เพื่อสนับสนุนการขอมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ หรือ GAP

ระดับผู้ประกอบการ

  • สร้างการรับรู้ถึงความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพสำหรับการวิเคราะห์สมุนไพรไทย ผ่านกิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ (โรงพยาบาลหนองเสือ), การทำ Method validation
  • สนับสนุนผู้ประกอบการ (โรงพยาบาลหนองเสือ) ในการเตรียมการ เพื่อขอมาตรฐาน GMP
  • สนับสนุนผู้ประกอบการ (โรงพยาบาลหนองเสือ) ในการวิเคราะห์สารปนเปื้อน สารสำคัญ ตามมาตรฐานคุณภาพสมุนไพรไทย

ระดับภาคประชาสังคม

  • สร้างการรับรู้ถึงความสำคัญของ NQI สำหรับการวิเคราะห์สมุนไพรไทย ผ่านกิจกรรมการสัมมนา เผยแพร่ความรู้แก่ภาคประชาสังคม

ระดับมาตรวิทยา

  • พัฒนาวัสดุอ้างอิง สำหรับการวิเคราะห์สมุนไพรไทย
  • พัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบสมุนไพรไทย อาทิ การจัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญ, การทำ Method validation, การจัดอบรมการคำนวนค่าความไม่แน่นอนของการวัด

เลื่อนลงด้านล่าง  ↓

go to top

ระดับ NQI

ความคืบหน้าการดำเนินงาน: ระดับ NQI

  • วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสมุนไพรไทย ภายใต้โครงการ “NQI เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสมุนไพรไทย” โดย นางอัจฉรา เจริญสุข ผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ และนายแพทย์สุรินทร์ สืบซึ้ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี
    LINK ข่าว

 

 

 

 

 

go to Quick Link

go to top

ระดับชุมชน

ความคืบหน้าการดำเนินงาน: ระดับชุมชน

  • 1 ธันวาคม 2563 – เก็บตัวอย่างดิน และน้ำ โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสมุนไพรไทย ณ สวนฟุ้งขจร ศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ (นายสุรศักดิ์ ใจโปร่ง), เกษตรอินทรีย์ วิถีบ้าน บ้าน, บ้านสวนเห็ด สวนสุขนาบูรณ์  และแปลงของสมาชิกในกลุ่ม
    LINK ข่าว


ทีมงาน มว. ถ่ายภาพร่วมกับ
นางสาววรธมน โคกรัมย์ แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลหนองเสือ
และเกษตรกรในพื้นที่อำเภอหนองเสือ

  • 3 ธันวาคม 2563 – อบรม GAP ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ อ.หนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
    LINK ข่าว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • ลงพื้นที่แปลงเกษตรกร ดูการบันทึกการเพาะปลูกที่สวนสุขนาบูรณ์ เพื่อช่วยเกษตรกรทำการบันทึกข้อมูล และเอกสารสำหรับประกอบการตรวจประเมิน GAP (เนื่องจากเกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว ดังนั้นการตรวจประเมิน GAP ต้องรอการปลูกในรอบถัดไป)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

go to Quick Link

go to top

ระดับผู้ประกอบการ

ความคืบหน้าการดำเนินงาน: ระดับผู้ประกอบการ

  • 4 ธันวาคม 2563 – อบรม GMP ให้กับผู้ประกอบการ (เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหนองเสือ)
    LINK ข่าว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • การขอการรับรอง GMP ของโรงพยาบาลหนองเสือ
    ทางผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจประเมิน และมีการแนะนำให้ทางโรงพยาบาลหนองเสือ ปรับปรุงโครงสร้างของโรงงานผลิต โดยให้มีการเพิ่มประตูทางเข้าของวัตถุดิบให้แยกออก ซึ่งทางโรงพยาบาลหนองเสือได้ทำการปรับปรุงโครงสร้างโดยการเจาะประตูทางเข้าของวัตถุดิบ และทางเข้าสำนักงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
    จากนั้น ทางผู้เชี่ยวชาญได้เข้ามาประเมินอีกครั้ง เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 ขณะนี้ผลการประเมินคือ ผ่านแบบมีเงื่อนไข (เอกสารรายงานตรวจประเมิน)

go to Quick Link

go to top

ระดับมาตรวิทยา

ความคืบหน้าการดำเนินงาน: ระดับมาตรวิทยา

  • วิธีวิเคราะห์โลหะหนักในสมุนไพรฟ้าทะลายโจรด้วยวิธีปฐมภูมิ (ID-ICPMS)
    • วัสดุอ้างอิงโลหะหนักในฟ้าทะลายโจร ที่ทำการวิเคราะห์ เช่น As, Ca, Cr, Ni, Cu, Zn, Cd, Pb, Fe
    • ใช้เทคนิค ID-ICPMS และ ID-ICPHRMS มาพัฒนาวิธีการวัด เพื่อวิเคราะห์ธาตุ As, Cd, Cr, Cu, Fe, Ni, P, Pb, Zn, Hg มีผลการวิเคราะห์ผงฟ้าทะลายโจรที่เตรียมเป็นตัวอย่างสำหรับการเตรียมวัสดุอ้างอิง
    • และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของผลการวัด ทางนักวิจัยจึงได้เข้าร่วมเปรียบเทียบผลการวัด SIM.QM-S11: Supplementary Comparison of elements in Yerba mate (Ilex paraguariensis) ซึ่งได้ดำเนินการส่งผลการวัดให้กับผู้จัดการเปรียบเทียบผลแล้ว ปัจจุบันยังไม่ได้รับรายงานผลจากผู้จัด
  • วัสดุอ้างอิงโลหะหนัก เช่น As, Ca, Cr, Ni, Cu, Zn, Cd, Pb, Fe ในฟ้าทะลายโจร
    • วัตถุดิบผงฟ้าทะลายโจร ได้คัดเลือกจากแหล่งที่มีจำหน่ายทั่วไปในตลาดของประเทศ  ทางนักวิจัย ได้ทำการร่อนด้วย sieved ขนาด 90 ไมโครเมตร และทำการกลิ้งด้วยเครื่อง roller mixer 1 สัปดาห์ เพื่อให้มีความเป็นเนื้อเดียวกัน และศึกษาความเป็นเนื้อเดียวกันเบื้องต้นก่อนทำการแบ่งบรรจุน้ำหนักประมาณ 25 กรัม ลงขวดสีชาขนาด 125 มล. และนำไปฉายรังสีแกมมา 20 kGy เพื่อลดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
    • เมื่อแบ่งบรรจุขวดแล้ว ได้มีการสุ่มเพื่อทำการศึกษาความเป็นเนื้อเดียวกัน ความเสถียรระยะสั้น (เป็นการศึกษาเพื่อดูความเสถียรระหว่างการขนส่ง) และ ความเสถียรระยะยาว (เป็นการศึกษาระยะเวลาของ shelf life)  จากผลการศึกษาพบว่าวัสดุอ้างอิงที่ทำการผลิตมีความเป็นเนื้อเดียวกัน มีความเสถียรระยะสั้น และการศึกษาความเสถียรระยะยาวจะมีการทำการศึกษาตลอดระยะเวลาที่มีจำหน่าย
    • เมื่อดำเนินการศีกษาตามรายละเอียดที่กล่าวมาแล้ว นักวิจัยได้ดำเนินการจัดทำ Production procedure เพื่อใช้เป็นวิธีการดำเนินการมาตรฐานสำหรับการใช้ในการผลิตครั้งต่อไป และเตรียมสำหรับการขอการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 17034 ในอนาคต และมีการเตรียมใบรับรองสำหรับแนบไปกับวัสดุอ้างอิงสำหรับจำหน่ายให้กับลูกค้าต่อไป
  • การจัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญการวิเคราะห์โลหะหนักในสมุนไพรฟ้าทะลายโจร และ การวิเคราะห์สารแอนโดรกราโฟไลด์ในผงฟ้าทะลายโจร
    • การจัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญการวิเคราะห์โลหะหนักในผงฟ้าทะลายโจรนี้ เป็นการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบสมุนไพรไทยให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสมุนไพรไทยให้มีคุณภาพ ซึ่งการจัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญนี้คือ การวัดปริมาณสารหนู (Arsenic, As) แคดเมียม (Cadmium, Cd) ทองแดง (Copper, Cu), ตะกั่ว (Lead, Pb) และสังกะสี (Zinc, Zn) ในตัวอย่างผงฟ้าทะลายโจร เนื่องจากเป็นตัวแทนของการหาปริมาณธาตุที่มีการกำหนดมาตรฐานไว้ ทั้งที่เป็นมาตรฐานของประเทศไทยคือ ตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (Thai herbal pharmacopoeia) ที่มีการกำหนดเกณฑ์ไว้คือ
      1. สารหนู (Arsenic) ไม่เกิน 5 ppm
      2. แคดเมียม (Cadmium) ไม่เกิน 0.3 ppm
      3 ตะกั่ว (Lead) ไม่เกิน 10 ppm
      4 ปรอท (Mercury) ไม่เกิน 0.5 ppm
    • สำหรับตัวอย่างที่นำมาใช้ในโปรแกรมทดสอบความชำนาญในครั้งนี้ เป็นการนำเอา candidate reference material มาใช้โดยมีการกำหนดช่วงของความเข้มข้นไว้ ดังนี้
      – ธาตุ: As ช่วงปริมาณ: 0.1 – 5 mg/kg
      – ธาตุ: Cd ช่วงปริมาณ: 0.01 – 1 mg/kg
      – ธาตุ: Cu ช่วงปริมาณ: 1 – 50 mg/kg
      – ธาตุ: Pb ช่วงปริมาณ: 0.5 – 10 mg/kg
      – ธาตุ: Zn ช่วงปริมาณ: 1 – 100 mg/kg
    • สำหรับการศึกษาความเป็นเนื้อเดียวกัน ได้ทำการสุ่มตัวอย่างจำนวน 11 ขวด แต่ละตัวอย่างทำการทดสอบซ้ำ 2 ครั้ง โดยวิธี External calibration ด้วยเครื่อง ICP-MS แล้วประเมินความเป็นเนื้อเดียวกันด้วย Cochran’s test และ ANOVA: Single factor statistical test พบว่าไม่มี outlier และผลการวัดไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญตามลำดับ ตัวอย่างที่เตรียมขึ้นมีความเหมาะสมในการจัดกิจกรรม
    • ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญในครั้งนี้มีทั้งหมด 12 ห้องปฏิบัติการ ซึ่งประกอบไปด้วยภาคเอกชนและหน่วยงานภายในกำกับของรัฐบาล จำนวนห้องปฏิบัติการที่ส่งผลคือ 11 ห้องปฏิบัติการ และมีบางห้องปฏิบัติการมีการส่งผล 2 ค่าจาก 2 เทคนิค
    • ค่าอ้างอิง (Reference Value)
      ใช้ค่ากำหนด (Assigned Value) คือค่าอ้างอิงรับรอง (Certified value) พร้อมค่าความไม่แน่นอนของการวัด (Measurement uncertainty) จากวัสดุอ้างอิงรับรองที่ มว. พัฒนาขึ้น โดยค่าอ้างอิงรับรองได้มาจากข้อมูล 3 ส่วน คือ Characterization, Homogeneity study และ Stability study Characterization ที่ได้จากการการวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคที่เป็น Primary method เช่น Isotope Dilution Mass Spectrometry (IDMS) หรือวิธีอื่นที่มีการสอบกลับได้ทางมาตรวิทยา (Metrological Traceability)
      เนื่องจาก มว. ได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถทางด้านการวัดปริมาณแร่ธาตุและโลหะหนักปรากฎบนเว็บไซต์ BIPM โดยผ่านการเข้าร่วมเปรียบเทียบผลการวัด การจัดทำระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 และการ Peer review โดย Technical expert จากต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ในการให้ค่าอ้างอิงรับรองนี้ ห้องปฏิบัติการใช้วิธีการวิเคราะห์ (Analytical method) ทั้งหมด 3 วิธี ได้แก่ Isotope Dilution Mass Spectrometry (IDMS), Gravimetric Standard Addition (GSA) และ External Calibration จาก ICP-MS สองเครื่องที่มีความสามารถในการแยก mass และการตรวจวัดที่ต่างกัน ซึ่งค่า assigned value ได้มาจาก weighted mean ใน 3 แหล่งหลักๆ ได้แก่ characterization, homogeneity study และ stability study ด้วยเทคนิคต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น
    • จากผลการทดสอบความชำนาญ พบว่าห้องปฏิบัติการเข้าร่วมโปรแกรมทดสอบความชำนาญจำนวน 10 ห้องปฏิบัติการ และได้ผลการประเมินเป็นที่น่าพอใจคิดเป็นร้อยละ 90 และได้ผลการประเมินเป็นที่น่าสงสัย ร้อยละ 10 จากการประเมินโดยใช้ Z-score แสดงให้เห็นว่าห้องปฏิบัติการทดสอบแอนโดรกราโฟไลด์ ส่วนใหญ่มีความสามารถในการวัด

go to Quick Link

go to top

LATEST POST < Case study >

go to Quick Link

go to top