NQI
PILOT PROJECTS

โครงการต้นแบบการนำ NQI
ไปใช้ประโยชน์ในระดับชุมชน: ข้าว

ความเป็นมา

เป็นที่ทราบกันดีว่า “ข้าว” เป็นผลผลิตหลัก และเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย จากแผนพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งชาติ 20 ปี (2560-2579) ที่ต้องการผลักดันให้ไทยติด 1 ใน 5 ของโลกด้านการส่งออกอาหารภายในปี 2579 และต้องการให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยการเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตร แนวทางการเพิ่มคุณภาพและการแปรรูปผลผลิตจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง แม้ว่าข้าวไทยจะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งจากผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ และข้าวสีต่างๆ ซึ่งเชื่อว่ามีประโยชน์ทางโภชนบำบัด

แต่ปัจจุบันตลาดการค้าข้าวเปลี่ยนจากตลาดของผู้ขายมาเป็นตลาดของผู้ซื้อ และมีการแข่งขันสูงขึ้น เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด การแข่งขันกันด้วยราคาเป็นอุปสรรคสำคัญเนื่องจากข้าวไทยมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าชาติอื่นๆ 

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีความได้เปรียบจากความหลากหลายของพันธุ์ข้าว การพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น หากไทยสามารถผลิตข้าวดังกล่าวให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ (Product of uniqueness) คือ สามารถรักษามาตรฐานและคุณภาพของข้าวให้คงที่และเป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภค โดยคำนึงถึงปัจจัยจำนวนต่างๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพของข้าวตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ และนำปัจจัยเหล่านี้มาพิจารณาในการประยุกต์ใช้โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพตลอดห่วงโซ่การผลิตข้าว โดยคาดหวังว่าไทยจะสามารถผลิตข้าวที่มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและเพิ่มความได้เปรียบทางการค้า เพราะการผลิตสินค้าโดยคำนึงถึงคุณภาพและมาตรฐานจะนำมาซึ่งความน่าเชื่อถือและความยั่งยืนมากกว่าการผลิตโดยคำนึงถึงปริมาณเพียงอย่างเดียว (Quality beyond productivity)

นอกจากนั้น ตลาดการค้าข้าวโลกในปัจจุบัน มีการแข่งขันกันมากขึ้นทั้งตลาดข้าวพรีเมี่ยมและตลาดข้าวสารเจ้า เนื่องจากมีผลผลิตจากหลายประเทศ เช่น เวียดนาม อินเดีย กัมพูชา และกลุ่มประเทศละตินอเมริกา ดังนั้นการตรวจสอบคุณภาพของข้าวให้เป็นไปตามข้อกำหนด และสอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากลจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น การขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของข้าว โดยบูรณาการงานร่วมกันในการกำหนดนโยบาย เป้าหมายและทิศทางการทำงานที่ชัดเจน จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยสร้างเอกลักษณ์ให้ข้าวไทยมีความโดดเด่น เป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ด้วยการการันตีคุณภาพแล้ว ยังช่วยลดการกีดกันทางการค้า เพิ่มมูลค่า และความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้ รวมถึงเสริมสร้างภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือต่อความปลอดภัยของสินค้าไทยเป็นอย่างมากอีกด้วย

ข้าวคุณภาพ + ระบบคุณภาพ = ข้าวที่การันตีคุณภาพ

เลื่อนลงด้านล่าง  ↓

go to top

วัตถุประสงค์โครงการ

สนับสนุนด้าน NQI

สนับสนุนด้าน NQI เพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพแก่ชุมชนผู้ผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าว กข43 และข้าวสังข์หยด เป็นผลิตภัณฑ์นำร่อง ซึ่งรวมการวิเคราะห์ตัวอย่างที่จำเป็นตามข้อกำหนดทางคุณภาพ เพื่อให้เกิดระบบโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพ ครอบคลุมผลผลิตและผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจระบบคุณภาพ และโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพที่เหมาะสมกับการผลิตข้าว และผลิตภัณฑ์จากข้าว

ผลิตวัสดุอ้างอิงสมุนไพร

ผลิตวัสดุอ้างอิงข้าว เพื่อสนับสนุนการตรวจวัดข้าว และผลิตภัณฑ์จากข้าว

กิจกรรมภายใต้โครงการฯ

ระดับชุมชน

  • สร้างการรับรู้ถึงความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของข้าว และผลิตภัณฑ์จากข้าว ผ่านกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว และโรงสีข้าวชุมชน
  • ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในการวิเคราะห์คุณภาพ น้ำ ดิน เพื่อสนับสนุนการขอการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ หรือ GAP

ระดับภาคประชาสังคม

  • สร้างการรับรู้ถึงความสำคัญของ NQI สำหรับการวิเคราะห์คุณภาพข้าวไทย ผ่านทางเว็บไซต์ และกิจกรรมการเผยแพร่ความรู้แก่ภาคประชาสังคม

ระดับมาตรวิทยา

  • พัฒนาวัสดุอ้างอิง สำหรับการวิเคราะห์คุณภาพข้าวไทย (ศึกษาความเป็นเนื้อเดียวกันและความเสถียร)
  • พัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบสมุนไพรไทย อาทิ การจัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญ, การทำ Method validation, การจัดอบรมการคำนวนค่าความไม่แน่นอนของการวัด

เลื่อนลงด้านล่าง  ↓

go to top

ความคืบหน้าการดำเนินงาน

ระดับ NQI

ความคืบหน้าการดำเนินงาน: ระดับ NQI

  • 8 มกราคม 2564 – 3 องค์กร (สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.), คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร. ธัญบุรี) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่   ได้ร่วมดำเนินการ “โครงการนวัตกรรมชีวภาพพัฒนากระบวนการปลูกข้าวปลอดภัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร การแปรรูปจากข้าวสู่มาตรฐานสินค้า OTOP ของกลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี” โดยมีวัตถุประสงค์
    1) เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้กับประชาชน นักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตพื้นที่คลองสี่
    2) เพื่อส่งเสริมการปลูกข้าวปลอดภัยและลดต้นทุนในกระบวนการปลูกข้าวด้วยนวัตกรรมเกษตรชีวภาพของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่คลองสี่
    3) เพื่อเพิ่มมูลค่าข้าวสู่มาตรฐาน GAP รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปข้าวสู่สินค้า OTOP ของชุมชนคลองสี่ และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในชุมชน ณ ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
    LINK ข่าว

 

 

 

 

go to Quick Link

go to top

ระดับชุมชน

ความคืบหน้าการดำเนินงาน: ระดับชุมชน

  • 8 มกราคม 2564 – 3 องค์กร (สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.), คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร. ธัญบุรี) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ ได้ร่วมกัน เก็บตัวอย่างข้าว ดิน และน้ำ ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 พื้นที่ เพื่อนำไปวิเคราะห์และทดสอบเบื้องต้นในการขอยื่นการรับรองการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม หรือ Good Agriculture Practices (GAP) เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่ ปัจจัยการผลิต การผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และการขนส่งการผลิตต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • 22 มีนาคม 2564 – สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) และองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ ร่วมจัดอบรม GAP ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่ตำบลคลองสี่ และตำบลคลองหก   ณ สวนพึ่งสุขฟาร์มอินทรีย์ คลองสี่ จังหวัดปทุมธานี  โดยมีผู้เข้าร่วมอบรม รวม 30 คน
    LINK ข่าว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • 24-25 ธันวาคม 2564 – บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด ลงพื้นที่ตรวจประเมินแปลงนาจำนวน 4 แปลง   ซึ่งทุกแปลงได้รับการรับรอง GAP เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง

 

 

 

 

 

  • 14 มกราคม 2565 – จัดอบรมหลักสูตร Good Hygiene Practices, GHPs แก่เจ้าหน้าที่ของโรงสีสวนพึ่งสุขฟาร์มอินทรีย์ (บ. พยัคฆ์พึ่งสุขฟาร์มอินทรีย์ จำกัด) และผู้สนใจทั่วไป (ผ่านระบบออนไลน์)
    LINK ข่าว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • จัดจ้าง บริษัท ที. พี. คอนเซาท์ แอนด์ เทรนนิ่ง จำกัด เป็นที่ปรึกษาในการขอการรับรอง GHPs
    โดยได้ทำการปรับปรุงโรงสี เพื่อขอการตรวจประเมินสถานที่ผลิตและเก็บอาหาร จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี (สสจ.)  ซึ่งได้รับการตรวจประเมินสถานที่จาก สสจ. ปทุมธานี เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2565 แบบออนไลน์ และได้รับการตรวจประเมินตามระบบ GHPs จากบริษัท อินเตอร์ เนชันแนล เซอร์ติฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2565 ขณะนี้แก้ไขข้อพกพร่องเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการออกใบรับรองตรวจประเมินตามระบบคุณภาพ GHPs ให้แก่ บ. พยัคฆ์พึ่งสุขฟาร์มอินทรีย์ จำกัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

go to Quick Link

go to top

ระดับมาตรวิทยา

ความคืบหน้าการดำเนินงาน: ระดับมาตรวิทยา

  • 15 พฤศจิกายน 2563 – กันยายน 2564 – มว. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญรายการหาปริมาณรูปฟอร์มของสารหนู ปริมาณรวมของสารหนู และปริมาณธาตุในตัวอย่างแป้งข้าวเจ้า (Determination of arsenic species, Total Arsenic, and Elements in Rice Flour) NIMT-IA-2020-001
  • พัฒนาวิธีการวัดสาร Oryznol ในข้าว
    • เป็นวิธีวัด gamma-oryzanol ทั้ง 4 สาร คือ cycloartenyl ferulate, 24‐methylene cycloartanyl ferulate, campesteryl ferulate and sitosteryl ferulate โดยใช้เทคนิค HPLC-PDA โครงสร้างของ oryzanol ต่างๆ
  • พัฒนาวัสดุอ้างอิงรับรอง สำหรับวิเคราะห์โลหะหนัก As และ Mn ตกค้างในข้าวด้วยเทคนิค ICPMS และโลหะหนัก Mg, Ca, Zn และ Cu ด้วยเทคนิค ID-ICP-MS)
    • วัสดุอ้างอิงนี้ ผลิตโดยการนำแป้งข้าวเจ้าที่จากบริษัทที่ได้รับการรับรอง GMP และผ่านการวิเคราะห์ปริมาณธาตุเบื้องต้นว่ามีค่าใกล้เคียงกับ regulation limits แป้งข้าวเจ้าน้ำหนัก 10 กก. นำมาผสมด้วย sample divider แล้วใส่บรรจุขวดแก้วสีชาขวดละ 25-30 กรัม ได้วัสดุอ้างอิงทั้งสิ้น 320 ขวด นำไปฉายรังสีที่ระดับ 20 kGy เพื่อลดก็ปริมาณแคทีเรียที่ปนเปื้อน จากนั้นรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้อง จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างจำนวน 11 ขวด เพื่อศึกษาความเป็นเนื้อเดียวกัน

 

 

 

 

 

  • 7-8 ธันวาคม 2564 – จัดอบรมหลักสูตร “ทบทวนการคำนวนค่าความไม่แน่นอนของการวัด และการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวัด”  แบบออนไลน์ มีผู้เข้าร่วมอบรม รวม 53 คน

go to Quick Link

go to top

LATEST POST < Case study >

go to Quick Link

go to top