In union, there is strength.

About Us

QUICK LINK

About us

เกี่ยวกับเรา

Historical

ความเป็นมา

Developer

ผู้พัฒนา

เกี่ยวกับเรา

NQI Thailand เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงาน ที่ต้องการผลักดันให้ “โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศไทย” เป็นกลไกที่ช่วยทำให้เกิดการทำงานเชิงบูรณาการร่วมกันอย่างเป็นระบบ  และสอดคล้องกับหลักปฏิบัติสากล  อันจะส่งผลให้ “สินค้าและบริการไทย” มีคุณภาพ ปลอดภัย และขายได้ราคาดี  ทั้งนี้ ด้วยความเชื่อมั่นว่า  NQI ที่เป็นระบบและเข้มแข็ง จะเป็นฐานที่มั่นคงในการรองรับการพัฒนาประเทศ พลิกฟื้นเศรษฐกิจสู่การเป็นประเทศเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมต่อไป

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง →

Historical

ความเป็นมา

^
25xx (19xx)

MSTQ

ประเทศที่มีระบบเศษฐกิจฐานอุตสาหกรรม ได้ใช้เวลาหลายศตวรรษในการพัฒนาและเสนอแนวทางการปฏิบัติด้านมาตรวิทยา (Metrology)  การมาตรฐาน (Standardisation)   การทดสอบ(Testing)  และระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System) ที่รู้จักกันในอักษรย่อว่า MSTQ โดยได้พิสูจน์ความสามารถทางเทคนิคผ่านวิธีการต่างๆ ของการประเมินผล แะเปรียบเทียบผลการวัด ซึ่งได้มาจากการยอมรับร่วมกันแบบพหุพาคี

ซึ่งรัฐบาลไทย ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานหลายหน่วยงาน เพื่อรองรับการดำเนินงาน MSTQ ข้างต้น ซึ่งรวมถึง การรับรองระบบงาน (Acrreditation) และการตรวจสอบและรับรอง (Conformity Assessment) ด้วย

^
2558 (2015)

จัดทำฐานข้อมูลมาตรฐาน และ
ห้องปฏิบัติการทดสอบ
ในภาพรวมของประเทศ

สืบเนื่องจากการประชุม คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ (สศช.) ได้เสนอเรื่องห้องปฏิบัติการ (Laboratory) และการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเพื่อการส่งออก เพื่อให้ที่ประชุม พิจารณาแนวทางและมาตรการในการแก้ปัญหา

กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความขาดแคลนห้องปฏิบัติการ (Laboratory) ที่มีประสิทธิภาพสูง สำหรับตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเพื่อการส่งออก โดยเห็นควรมอบหมาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข พิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการดำเนินการดังนี้

  • สนับสนุนงบประมาณในการลงทุนด้านเครื่องมือและบุคลากรสำหรับห้องปฏิบัติการของหน่วยงานภาครัฐและมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อให้สามารถตรวจสอบมาตรฐานสินค้าได้หลากหลายรายการ และเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการแก่ภาคเอกชน
  • ส่งเสริมการพัฒนาห้องปฏิบัติการที่มีอยู่ในประเทศไทยให้ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล และเป็นที่เชื่อถือของต่างประเทศ
  • เพิ่มการสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs เมื่อใช้บริการทดสอบและรับรองมาตรฐานจากห้องปฏิบัติการของเอกชนที่มีอยู่ในประเทศไทย เพื่อลดความแออัดของห้องปฏิบัติการในสังกัดหน่วยงานภาครัฐและมหาวิทยาลัยต่างๆ
  • จัดตั้งศูนย์บริการด้านข้อมูล การให้คำแนะนำ การให้บริการทดสอบมาตรฐานสินค้าและการออกเอกสารรับรองมาตรฐานแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service Center)

และมอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการดำเนินการร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อบูรณาการการจัดทำฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการทดสอบในภาพรวมทั้งระบบของประเทศให้สามารถเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน และง่ายต่อการสืบค้นของผู้ใช้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

^
2560 (2017)

นิยาม NQI

ในการประชุมประจำปีของ Network on Metrology, Accreditation and Standardisation for Developing Countries (DCMAS) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2560 โดยมี UNIDO (United Nations Industrial Development Organisation) เป็นเจ้าภาพ  ได้มีมติรับรอง “นิยาม NQI” โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

^
2561 (2018)

สมุดปกขาว NQI

สมุดปกขาว “โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ” ซึ่งจัดทำโดย คณะทำงานสมุดปกขาว “การปฏิรูปการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ” ได้ถูกเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่ง นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว มีบัญชาส่งเรื่องให้กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับข้อเสนอแนะของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปพิจารณาใช้ประโยชน์ต่อไป

go to top

Database Developer

ผู้พัฒนาฐานข้อมูล

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

โทรศัพท์  0-2564-7000
โทรสาร    0-2564-7001-5

Call Center 0-2564-8000

Website Developer

ผู้พัฒนาเว็บไซต์

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

3/4-5   หมู่ 3  ตำบลคลองห้า  อำเภอคลองหลวง  จังหวัดปทุมธานี  12120

โทรศัพท์   0-2577-5100
email: pr@nimt.or.th

go to top